สิวที่คางขึ้นซ้ำๆ สงสัยหรือไม่ว่ามันใช่สิวฮอร์โมนหรือเปล่า!?

สาเหตุและวิธีรักษา “สิวฮอร์โมน”

สาเหตุและวิธีรักษา “สิวฮอร์โมน”

รู้ลึกถึงสาเหตุและวิธีการรักษา "สิวฮอร์โมน"

     สิวฮอร์โมน มักเกิดขึ้นในช่วงวัยรุ่น พบได้ทั้งในผู้ชายและผู้หญิง แต่ด้วยความที่ผู้ชายจะมีระดับฮอร์โมนคงที่ ทำให้พบได้น้อย ส่วนผู้หญิงจะมีฮอร์โมนเพศที่แปรปรวนได้บ่อยโดยเฉพาะช่วงอายุ 20 – 40 ปี จึงมักจะมีปัญหาสิวที่เกิดจากรอบเดือน (ประจำเดือน) หรือสิวฮอร์โมนนั่นเอง
 
สิวมากขึ้น-ในช่วงที่มีประจำเดือน-ตั่งครรภ์
     จากงานวิจัยพบว่า 65% ของผู้หญิงจะมีสิวมากขึ้น ในช่วงที่มีประจำเดือน ช่วงที่มีการตั้งครรภ์ หรือหลังคลอดแล้วก็ยังมีสิวขึ้นอยู่ ซึ่งเป็นช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนนั่นเอง
before-after-สิวฮอร์โมน-สิวที่คาง
     สิวฮอร์โมนมักเกิดขึ้นบริเวณรอบปาก แก้มล่าง คาง และกรอบหน้าโดยมักจะขึ้นเป็นสิวอักเสบ ถ้าขนาดเล็กจะมีลักษณะเป็นตุ่มแดง ถ้าใหญ่มากจะมีลักษณะเป็นก้อนถุงและเจ็บ
สิวฮอร์โมนมีวิธีการรักษาอย่างไร

สิวฮอร์โมนมีวิธีการรักษาอย่างไร ?

     แนะนำการรักษาโดยปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญว่าปัญหาสิวที่มักพบบริเวณรอบปาก กรอบหน้า เป็นสิวฮอร์โมนหรือไม่และเพื่อรับคำแนะนำจากแพทย์เกี่ยวกับทางเลือกในการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับคนไข้
ปัจจุบันองค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกาได้อนุมัติยากินเพื่อรักษาสิวฮอร์โมน เช่น ยาคุม รวมถึงยาที่ช่วยคุมสิวฮอร์โมนโดยไม่ใช่ ยาคุม 
     ซึ่งในปัจจุบัน ทางบีเอสแอลคลินิกได้ นำยารักษาสิวฮอร์โมนที่ไม่ใช่ยาคุมซึ่งเหมาะกับผู้หญิงและไม่มีผลข้างเคียงแบบยาคุมพร้อมกับมีความปลอดภัยในการรักษาสิวฮอร์โมนให้กับคนไข้
ยาเพื่อคุมสิวฮอร์โมนที่ไม่ใช่ยาคุม
     จากงานวิจัยพบว่าการให้ยาเพื่อคุมสิวฮอร์โมนที่ไม่ใช่ยาคุม นั้นมีประสิทธิภาพที่ดี สามารถลดสิวได้ 50% ถึง 100% ซึ่งจะช่วยลดความมัน และโอกาสการปะทุของสิวได้ หลังการรักษาแล้วประมาณสามเดือนและสามารถรับประทานต่อเนื่องได้
     ส่วนผลข้างเคียงของยารักษาสิวฮอร์โมนที่ไม่ใช่ยาคุม มีเพียงเล็กน้อยคืออาจจะมีประจำเดือนไม่สม่ำเสมอตัวในช่วงสองถึงสามเดือนแรกอาจจะมีลักษณะเต้านมที่คัดตึงและเต้านมใหญ่ขึ้น แต่ที่สำคัญไม่มีหลักฐานทางงานวิจัยที่ว่ามีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านมเช่นยาคุม
icon email